นำแนวทางการสร้างสรรค์จิตผูกพัน Soft Power Engagement ผ่านโครงการร่วมกันสร้างสรรค์คุณค่าความปลอดภัยสู่สังคม (Creating Shared Value, CSV - Safety to Society) ร่วมกับพันธมิตรและเครือข่ายมานานกว่า 10 ปี เพื่อบรรลุพันธกิจ ขององค์กร ในการส่งมอบความปลอดภัยจากภัยพิบัติฟ้าผ่าและ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้กับสังคมทุกภาคส่วน ได้แก่
ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ Kumwell Academy ในฐานะองค์กรแม่ข่าย ของสภาวิศวกร ในการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ได้จัดอบรมให้ความรู้และได้รับคะแนน CPD เพื่อขอใบรับรองกับสภาวิศวกร
กว่า 10,000 ราย
ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ Kumwell Academy ในการส่งมอบความรู้ความเชี่ยวชาญให้กับภาคอุตสาหกรรมและบริการ
ในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระบบการต่อลงดินและป้องกันฟ้าผ่า จนได้รับการประกาศราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 16 ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2557
ในการจัดทำมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า
ดำเนินโครงการร่วมกันสร้างสรรค์คุณค่าความปลอดภัยสู่สังคม TEMCA Corporate Creating Shared Value (TEMCA C CSV) ได้แก่
จัดทำคู่มือติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ระบบประปา สุขาภิบาลและดับเพลิง ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
ให้เป็นมาตรฐานประเทศ (National Guide Installation) กว่า 20 เล่ม ตลอดจนสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้วยการยกระดับคู่มือติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลของ TEMCA ไปสู่การจัดทำคู่มือติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องกลของประเทศฟิลิปปินส์ และคู่มือติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อเป็น มาตรฐานเดียวกันทั้งอาเซียน (ASEAN Insulation Handbook)
TEMCA Academy ร่วมกันกับสมาชิกเครือข่ายและ พันธมิตรจัดทำหลักสูตรอบรมวิศวกรไฟฟ้า เพื่ออบรมการติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
จัดทำหลักสูตรเพื่ออบรมและทดสอบงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลให้กับสมาชิกของสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย (TEMCA)
จัดทำหลักสูตรเพื่อการเรียนการสอนงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
จัดทำหลักสูตรเพื่ออบรมและทดสอบกับสหพันธ์ผู้รับเหมาไฟฟ้าอาเซียน (AFEEC) เพื่อยกระดับเป็น ASEAN Academy ต่อไป
ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาชุมชนเกือบ 4 ปี
เช่น ผ่านโครงการวิศวกรรมสู่ชุมชน ตำบลน่าอยู่ โครงการต้นแบบเศรษฐกิจ ชุมชน ซึ่งหนึ่งในโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งคือ โครงการศูนย์การ เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ปฐมวิเวก หนองย่างเสือ จ.สระบุรี ที่ต่อยอดไปสู่การก่อตั้ง สถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ สจล. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรไทยสามารถทำ เกษตรอินทรีย์ได้อย่างมีคุณภาพและเป็นระบบ รวมทั้งจัดตั้งบริษัทภายใต้ Holding Company เพื่อพัฒนาและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ภายใต้แบรนด์ ปุ๋ยอินทรีย์โฟร์คิงส์ (4 KINGS) ที่สามารถปรับสูตร N-P-K เพื่อสนับสนุนให้ เกษตรกรไทยลดเลิกการใช้เคมี นำไปสู่เกษตรยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ร่วมกันกับพันธมิตรและเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
วิจัยและพัฒนานวัตกรรมโครงการพลังงานสะอาดเพื่ออนาคต เช่น Micro Modular Reactor (MMR) สู่การจัดสร้างโรงไฟฟ้าต้นแบบ / การวิจัยและ พัฒนาพลังงานไฮโดรเจน รวมถึง โครงการวิจัยและพัฒนาด้านความเข้ากันได้ ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility; EMC) เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศอย่างปลอดภัยและยั่งยืน