Building

อาคาร

Total Solution for Low Rise Building

หมายถึง อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร หรือไม่เกิน 9 ชั้น การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับลักษณะนี้จะต้องมีระบบตัวนำล่อฟ้า ระบบตัวนำลงดิน และระบบรากสายดิน เหมือนอาคารทั่วไป แต่ที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ คือ การเลือกใช้ตัวนำและวิธีการติดตั้ง เพื่อความสวยงาม และการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้คนที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากแรงดันสัมผัส

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย และลดผลกระทบขณะเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่า

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

การออกแบบและติดตั้ง ระบบป้องกัน

ฟ้าผ่าสำหรับ Low Rise Building

การออกแบบตัวนำล่อฟ้าโดยคำนึงถึงพื้นที่ใช้งาน และทัศนียภาพด้วย

Self-Standard Lightning Pole

  • Lightning Pole ตัวนำล่อฟ้า มีลักษณะเป็นเสาสูง นิยมนำไปใช้ในการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคาร ที่ไม่ต้องการให้มีแท่งตัวนำล่อฟ้าแบบ Air Terminal หลาย ๆ จุด เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามของดาดฟ้า เช่น ลานสันทนาการ สวนหย่อม สระว่ายน้ำ เป็นต้น หรือนิยมใช้เป็นเทคนิคในการออกแบบ เพื่อให้ได้พื้นที่ป้องกันที่เพิ่มขึ้น และลดจำนวนแท่งตัวนำล่อฟ้าแบบ Air Terminal.
  • Self-Standing Lightning Pole ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเสาสูงทั่วไป, น้ำหนักเบา, ขนย้ายสะดวก, ติดตั้งง่าย, มีความแข็งแรง ทนแรงลมได้มากถึง 160 km/hr. (Wind Load Tested)

การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับอาคารที่ก่อสร้างใหม่

  • ใช้ Hot-Dip Galvanized Steel Conductor เป็นตัวนำลงดินหลักที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไป โดยมีการประสานศักย์กับเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากมาตรฐาน วสท. และ IEC ซึ่งทำให้ระบบตัวนำลงดิน มีค่าอิมพิแดนซ์รวมที่ต่ำมาก ช่วยลดอันตรายจากแรงดันฟ้าผ่า อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานของการทำ EMC ที่ดีให้กับอาคาร
  • Kumwell Hot-Dip Galvanized Steel ปราศจากความเสี่ยงต่อการถูกขโมยเหมือนทองแดง, มีสีที่แตกต่างจากเหล็ก Rebar ทำให้ตรวจสอบได้ง่าย ราคาประหยัดคุ้มค่า เมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น อีกทั้งผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน IEC 62561-2

การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับอาคารเก่า หรืออาคารปรับปรุง

  • จำเป็นต้องติดตั้งระบบตัวนำลงดินภายนอกอาคาร และในกรณีที่ตัวนำลงดินติดตั้งในบริเวณที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ แนะนำให้ใช้สายตัวนำทองแดงกลมตันหุ้มฉนวนชนิดพิเศษ (KIC Cable) เป็นตัวนำลงดิน ติดตั้งที่ระยะประมาณ 3 เมตร จากระดับพื้น เพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันสัมผัส
  • Kumwell KIC Cable เป็นสายตัวนำทองแดงกลมตันหุ้มฉนวนชนิดพิเศษ ที่ผ่านการทดสอบความเป็นฉนวนต่อแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่ารูปคลื่น 1.2/50 µs ขนาด 100 kV ทั้งในสภาพชิ้นงานปกติและในสภาพชิ้นงานเปียกน้ำ เพื่อการใช้งานในทุกสภาพอากาศ

การออกแบบระบบรากสายดิน แบบ Ground Loop รอบอาคาร

  • สำหรับอาคารที่มีการติดตั้งตัวนำลงดินหลายจุด แนะนำให้ติดตั้งระบบรากสายดินแบบ Ground Loop รอบอาคาร เพื่อควบคุมศักย์ไฟฟ้าบริเวณโดยรอบ รวมถึงเป็นจุดประสานศักย์การต่อลงดินในระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน
  • วัสดุที่ใช้เป็นแท่งหลักดินของระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันฟ้าผ่า แนะนำให้ใช้ Copper Bonded Ground Rod ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5/8 นิ้ว ยาว 2.4 เมตร ที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติตาม มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าและมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า

Total Solution สำหรับอาคารสูง

การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารโดยทั่วไป เช่น ระบบตัวนำล่อฟ้า ระบบตัวนำลงดิน ระบบรากสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอาคาร อาจจะยังไม่เพียงพอกับอาคารสมัยใหม่ ที่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็น Smart Building ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย สำหรับขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในอาคาร รวมไปถึง จำเป็นต้องมีการออกแบบการป้องกันฟ้าผ่าภายใน เพื่อป้องกันผลกระทบจากอิมพัลส์แม่เหล็กฟ้าผ่า (LEMP: Lightning Electromagnetic Impulse) อีกด้วย เช่น Grounding and Bonding Network, Shielding, การป้องกันเสิร์จ เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีในการป้องกันฟ้าผ่าทั้งภายนอกและภายใน

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

ออกแบบติดตั้งโดยใช้สายตัวนำชนิด Hot-Dip Galvanized Steel Rounded Conductor เป็นตัวนำลงดินหลักที่ติดเพิ่มเข้าไปกับเหล็กโครงสร้างคอนกรีต เพื่อการป้องกันฟ้าผ่าและทำหน้าที่เป็นตัวป้องกัน (Shielding) ที่ดีของอาคารซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการเหนี่ยวนำหรือการรบกวนที่เกิดจากอิมพัลส์แม่เหล็กฟ้าผ่า และการออกแบบโดยใช้ฐานรากของอาคารเป็นรากสายดิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีความคงทนถาวร

การออกแบบตัวนำล่อฟ้าโดยคำนึงถึงพื้นที่ใช้งาน และทัศนียภาพ ด้วย Self-Standing Lightning Pole

  • Lightning Pole เป็นตัวนำล่อฟ้าที่มีลักษณะเป็นเสาสูง นิยมนำไปใช้ในการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง ที่ไม่ต้องการให้มีแท่งตัวนำล่อฟ้าแบบ Air Terminal หลายๆ จุด เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามของดาดฟ้า เช่น ลานสันทนาการ สวนหย่อม สระว่ายน้ำ เป็นต้น หรือนิยมใช้เป็นเทคนิคในการออกแบบ เพื่อให้ได้พื้นที่ป้องกันที่เพิ่มขึ้น และลดจำนวนแท่งตัวนำล่อฟ้าแบบ Air Terminal.
  • Self-Standing Lightning Pole ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเสาสูงทั่วไป, น้ำหนักเบา, ขนย้ายสะดวก, ติดตั้งง่าย, มีความแข็งแรง ทนแรงลมได้มากถึง 160 km./hr. (Wind Load Tested)

การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับอาคารเก่า หรืออาคารปรับปรุง

สำหรับอาคารสูงที่มีความสูงมากกว่า 60 เมตรขึ้นไป ตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า วสท. และมาตรฐาน IEC 62305-3 ได้ระบุว่ามีโอกาสที่จะได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าด้านข้างของอาคารได้ จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบและติดตั้งตัวนำล่อฟ้าที่มีความเหมาะสมในการรับฟ้าผ่าด้วย

สำหรับการป้องกันฟ้าผ่าด้านข้างของอาคารนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

1. การติดตั้งโดยใช้ Strike Pad เพื่อรับฟ้าผ่า

2. การใช้วัสดุปิดผิวอาคารประเภทโลหะ เป็นตัวรับฟ้าผ่าโดยธรรมชาติ เช่น อะลูมิเนียมแคลดดิ้ง (Aluminium Cladding), 

ฟาซาด (Façade), เฟรมเหล็กยึดกระจก (Steel Frame) เป็นต้น

การติดตั้งโดยใช้ Strike Pad เพื่อรับฟ้าผ่า (ซ้าย)

และการใช้ส่วนโลหะปิดอาคารเพื่อรับฟ้าผ่า (ขวา)

การออกแบบระบบตัวนำลงดินโดยใช้สายตัวนำ Hot-Dip Galvanized Steel Round Conductor ฝังในคอนกรีต

  • การใช้ Hot-Dip Galvanized Steel Conductor เป็นตัวนำลงดินหลักที่ติดเพิ่มเข้าไป โดยมีการประสานศักย์กับเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากมาตรฐาน วสท. และ IEC ซึ่งทำให้ระบบตัวนำลงดินได้ค่าอิมพิแดนซ์รวมที่ต่ำมาก ช่วยลดอันตรายจากแรงดันฟ้าผ่าและเป็นองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานของการทำ EMC ที่ดีให้กับอาคาร
  • Kumwell Hot-Dip Galvanized Steel

1. ไม่มีความเสี่ยงต่อการโดนขโมยเหมือนทองแดง

2. มีสีที่แตกต่างจากเหล็ก Rebar ทำให้ตรวจสอบได้ง่าย

3. ราคาประหยัดคุ้มค่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น

4. ผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-2

การ Bonding องค์ประกอบโลหะที่อยู่ภายนอกเข้ากับตัวนำลงดินที่ฝังในคอนกรีตด้วย Earth Point

  • Earth Point เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง Hot-Dip Galvanized Steel Conductor ที่ฝังในคอนกรีตกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายนอกที่ต้องการต่อลงดิน รวมถึงใช้เป็นจุดเชื่อม (Bonding) ส่วนโลหะต่างๆ
  • ติดตั้งโดยให้ส่วนหางของ Earth Point เชื่อมต่อเข้ากับตัวนำลงดิน และส่วนหัวของ Earth Point อยู่เสมอไม้แบบที่ใช้เทคอนกรีตบริเวณหน้าเสาหรือฝาผนัง เพื่อไว้สำหรับเป็นจุดเชื่อม (Bonding) โครงโลหะหรืออุปกรณ์ต่างๆ
  • Earth Point ผลิตจากวัสดุชนิด Stainless Steel เพื่อป้องกันการกัดกร่อน โดยมีเกลียวขนาด M10 เพื่อใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ และผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-1

การออกแบบระบบรากสายดินโดยใช้ฐานรากคอนกรีต 

Concrete Foundation Grounding

รากสายดินฐานรากที่ใช้ Footing หรือเสาเข็ม ร่วมกับการใช้คานคอดิน

รากสายดินฐานรากที่ใช้พื้นชั้นล่างสุด (Mat Foundation) ของอาคาร

  • การออกแบบระบบรากสายดินโดยใช้ฐานรากคอนกรีต (Concrete foundation Grounding) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากมาตรฐานต่างๆ เช่น วสท., IEC, IEEE และ DIN เป็นต้น รากสายดินฐานรากคอนกรีตต้องประกอบด้วยตัวนำที่ติดตั้งฝังในฐานรากคอนกรีตของอาคารที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน และต้องเป็นคอนกรีตส่วนที่สัมผัสกับดินโดยตรง โดยการติดตั้งรากสายดินฐานรากคอนกรีต แบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ
  1. รากสายดินฐานรากที่ใช้ Footing หรือเสาเข็ม ร่วมกับการใช้คานคอดิน การติดตั้งแบบนี้งานฐานราก Footing และเสาเข็มจะเปรียบเสมือน Ground Rod ส่วนคานคอดินจะเปรียบเสมือน Ground Loop รอบอาคาร
  2. การใช้พื้นชั้นล่างสุด (Mat Foundation) ของอาคารเป็นรากสายดิน โดยฝังสายตัวนำให้มีลักษณะเป็นตาข่าย เปรียบเสมือนการใช้รากสายดินที่เป็น Ground Grid
  • ประโยชน์ของการใช้รากสายดินฐานรากคอนกรีต
  • ได้ค่า Ground Resistance และ Ground Impedance 
    
    ที่ต่ำมาก เนื่องจากมีปริมาตรคอนกรีตที่มีหน้าสัมผัสกับดินอยู่ทั่วพื้นที่ ทำให้กระจายกระแสลงดินอย่างรวดเร็ว
  • มีความคงทนถาวรคู่กับอาคาร
  • มีความปลอดภัยสูงจาก Ground Potential Rise

การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าต่อผู้คนที่อยู่บริเวณ Rooftop ของอาคารด้วยระบบแจ้งเตือนฟ้าผ่า Smart Lightning Warning System

  • ปัจจุบันอาคารสูงหลายๆ แห่งนิยมใช้พื้นที่เปิดโล่งบนหลังคา (Rooftop) เป็นพื้นที่จัดสวน จุดชมวิว ร้านอาหาร หรือใช้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แต่ในการออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารโดยทั่วไปจะเป็นการป้องกันสิ่งปลูกสร้างจากความเสียหายทางกายภาพที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยจากฟ้าผ่าต่อผู้คนที่อยู่บริเวณพื้นที่เปิดโล่งบนหลังคา



  • เพื่อลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่าต่อบุคคลที่ประกอบกิจกรรมบริเวณพื้นที่เปิดโล่ง Kumwell ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบแจ้งเตือนภัยฟ้าผ่าอัจฉริยะหรือ Smart Lightning Warning System ซึ่งเป็นระบบที่สามารถแจ้งเตือนเหตุการณ์ฟ้าผ่าล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ข้อมูลฟ้าผ่าจากโครงข่ายระบบตรวจจับฟ้าผ่า (Lightning Detection Sensor Network and Global Data) และข้อมูลการเปลี่ยนแปลงค่าสนามไฟฟ้าในพื้นที่จาก E-Field Sensor มาประมวลผลร่วมกันผ่านซอฟแวร์อัจฉริยะ (Alarm Viewer Software) ตามมาตรฐาน IEC 62793-2020 และ มอก. 3461-2565 เพื่อทำการแจ้งเตือนเหตุการณ์ฟ้าผ่าล่วงหน้า โดยเมื่อมีแนวโน้มว่าจะเกิดฟ้าผ่าอยู่ภายในบริเวณพื้นที่อาคาร ระบบจะทำการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้คนที่ประกอบกิจกรรมอยู่ในบริเวณพื้นที่เปิดโล่งหลบเข้าไปยังพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างทันท่วงทีและสามารถแจ้งเตือนให้ผู้คนกลับมาประกอบกิจกรรมได้ทันทีเมื่อเข้าสู่สภาพอากาศปกติ


อาคารมรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม

อาคารมรดกทางวัฒนธรรม รวมไปถึงสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น วัด โบสถ์ เจดีย์ วิหาร ศาสนสถาน เป็นต้น ต่างมีคุณค่าที่สะท้อนวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของผู้คนในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งยังเป็นอาคารใช้งานสาธารณะ มีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ทั้งต่ออาคารสถานและชีวิตของผู้คนโดยรอบ ซึ่งหากได้รับความเสียหายจะสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาล ดังนั้น ในการออกแบบและการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้ นอกจากต้องคำนึงถึงการสร้างความปลอดภัยแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญด้านความสวยงามกลมกลืนกับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอีกด้วย

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

ได้พัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ในการดูแลและรักษาอาคารมรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม เพื่อส่งมอบระบบความมั่นคงและปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งรักษามรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าให้อยู่อย่างยั่งยืน

การออกแบบตัวนำล่อฟ้าโดยคำนึงถึงความสวยงามของสถาปัตยกรรมด้วยตัวนำชนิดกลมตัน

การใช้ตัวนำชนิดกลมตันเป็นตัวนำล่อฟ้าเพื่อความสวยงาม

  • เนื่องจากอาคารสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่มีรูปร่างที่ซับซ้อน เช่น ส่วนหลังคาที่มีการออกแบบตกแต่งให้มีความวิจิตร จึง ควรเลือกใช้ตัวนำชนิดกลมตันเป็นตัวนำล่อฟ้า โดยทำหน้าที่ในการดักรับวาบฟ้าผ่าที่ลงสิ่งปลูกสร้าง



  • ตัวนำชนิดกลมตันสามารถดัดโค้งได้หลายทิศทางโดยไม่มีปัญหาเกลียวแตกหรือชำรุดง่าย อีกทั้งเพื่อความสวยงามในการติดตั้งและความกลมกลืนกับสิ่งปลูกสร้าง


  • วัสดุตัวนำที่ใช้ในระบบป้องกันฟ้าผ่าสามารถเลือกได้หลากหลายชนิดตามมาตรฐาน ได้แก่ ทองแดง อลูมิเนียม ทองแดงชุบดีบุก 
    
    สเตนเลส เป็นต้น


สาย KIC เพื่อป้องกันอันตรายจาก Touch Voltage

  • สำหรับตัวนำลงดินที่ติดตั้งภายนอกสิ่งปลูกสร้าง ในบางสถานการณ์อาจก่อให้เกิดอันตรายจากแรงดันสัมผัส (Touch Voltage) ต่อผู้คนที่เข้าใกล้หรือสัมผัสกับตัวนำลงดิน



  • เพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันสัมผัส ในระยะ 3 เมตรจากระดับพื้น ควรใช้สายตัวนำทองแดงกลมตันหุ้มฉนวนชนิดพิเศษ (KIC Cable) ที่ผ่านการทดสอบความทนอยู่ได้ของฉนวนต่อแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่า ทั้งในสภาพชิ้นงานปกติและในสภาพชิ้นงานเปียกน้ำเพื่อการใช้งานในทุกสภาพอากาศ



การใช้สายตัวนำลงดินหุ้มฉนวน (KIC Cable)

การออกแบบ Ground Ring เพื่อป้องกันอันตรายจาก Step Voltage

การติดตั้งรากสายดินวงแหวนสำหรับป้องกันอันตรายจากแรงดันช่วงก้าว (Step Voltage)

• เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารสาธารณะที่มักมีผู้คนจำนวนมากมารวมตัวกันในการประกอบกิจกรรมต่างๆ การออกแบบระบบรากสายดินสำหรับสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้จะต้องมีการควบคุมศักย์ไฟฟ้าเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันช่วงก้าว (Step Voltage)



• มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า (วสท.) แนะนำให้ติดตั้งรากสายดินในลักษณะเป็นวงแหวนล้อมรอบสิ่งปลูกสร้างจำนวน 4 วงแหวน

  • วงแรกติดตั้งห่างจากผนังโดยรอบของสิ่งปลูกสร้าง 1 เมตร ฝังดินลึก 0.5 เมตร
  • วงที่สองติดตั้งห่างจากวงแรก 3 เมตร ฝังดินลึก 1 เมตร
  • วงที่สามติดตั้งห่างจากวงที่สอง 3 เมตร ฝังดินลึก 1.5 เมตร
  • วงที่สี่ติดตั้งห่างจากวงที่สาม 3 เมตร ฝังดินลึก 2 เมตร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ