Power Plant

โรงไฟฟ้า

การป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่า และการป้องกันเสิร์จสำหรับโรงไฟฟ้า

ปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกมีความต้องการในการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสิ่งต่างๆ มากมาย รวมถึงมีอิทธิพลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบรอบด้าน ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นโรงผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ หรือโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นต้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นและเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้านั่น คือมีแหล่งพลังงานที่มีความพร้อมใช้ โดยเมื่อมีการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการจะส่งผลให้ราคาพลังงานลดลง ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทั้งในเรื่องการแข่งขันและต้นทุนโดยรวม

ทุกปี โรงไฟฟ้าหลายแห่งเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้การทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าต้องหยุดชะงักอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุหนึ่งในนั้นคือฟ้าผ่า ไม่ว่าจะเป็นฟ้าผ่าตรงที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เกิดความเสียหายหรือผลจากแรงดันเกินจากฟ้าผ่าที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมต่างๆ เสียหาย ซึ่งผลจากการหยุกชะงักของระบบผลิตไฟฟ้ากระทบเชื่อมโยงต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศ นำมาสู่ความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้ ดังนั้น เพื่อความมีเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้า Kumwell จึงส่งมอบโซลูชัน "การป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่า และการป้องกันเสิร์จสำหรับโรงไฟฟ้า"

การประเมินความเสี่ยงจากฟ้าผ่า (Lightning Risk Assessments)

เป็นการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ฟ้าผ่าทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าและใกล้เคียง ตามมาตรฐาน IEC 62305-2 เพื่อหามาตรการป้องกันฟ้าผ่าที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ลดความเสี่ยงรวม (Total risk) ให้ต่ำกว่าค่าความเสี่ยงสูงสุดที่ยอมรับได้ (Tolerable risk) โดยผลลัพธ์ที่ได้จากประเมินจะทำให้ทราบว่าอาคารจำเป็นต้องมีระบบป้องกันฟ้าผ่าหรือไม่ ต้องใช้ระดับการป้องกันฟ้าผ่า (Lightning protection level) เท่าใดและต้องมีมาตรการป้องกัน (Protection measures) อื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงหรือไม่

การป้องกันฟ้าผ่าและการป้องกันความเสียหายจากเสิร์จต่ออุปกรณ์

  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning protection system: LPS) ต้องออกแบบตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า IEC 62305 ให้ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่อยู่ภายในโรงไฟฟ้าเพื่อป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า โดยออกแบบตามระดับการป้องกันฟ้าผ่าที่ประเมินได้และเลือกใช้มาตรการป้องกันอื่นๆ ตามการประเมิน
  • เมื่อเกิดฟ้าผ่าเกิดขึ้นทั้งแบบโดยตรงลงที่สิ่งปลูกสร้างและฟ้าผ่าโดยอ้อมลงดินหรือบริเวณใกล้เคียง จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากฟ้าผ่าในรูปแบบของกระแสและแรงดันเสิร์จเข้าไปตามสายสัญญาณ เช่น สายกราวด์ สายไฟฟ้า AC/DC สายโทรศัพท์ สายแลน เป็นต้น ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของแรงดันเกินที่เกิดขึ้น ซึ่งป้องกันเสิร์จได้ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (Surge protection device, SPD) เพื่อจำกัดแรงดันเกินและนำกระแสเสิร์จให้ลงดินลดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การบำรุงรักษาและการตรวจสอบ (Maintenance and Inspection)

  • ระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบต่อลงดินต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีความพร้อมใช้งาน รวมถึงแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่ปัญหาเหล่านั้นจะกลายเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการหยุดทำงานฉุกเฉินของระบบผลิตไฟฟ้า
  • Kumwell ให้บริการ สำรวจ ตรวจวัด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา ระบบการต่อลงดิน ระบบป้องกันฟ้าผ่า และระบบป้องกันเสิร์จ ควบคู่กับการให้บริการด้านโซลูชันการป้องกันฟ้าผ่าที่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วน ตั้งแต่การนำข้อมูลความหนาแน่นฟ้าผ่าที่ได้จากนวัตกรรมระบบตรวจจับฟ้าผ่ามาใช้ในการประเมินความเสี่ยงเพื่อเลือกมาตรการและระดับการป้องกันฟ้าผ่าที่เหมาะสมกับการออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่า, การจัดทำและนำเสนอโซลูชันรวมถึงนวัตกรรมระบบป้องกันฟ้าผ่าที่เป็นไปตามมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการ และคุ้มค่าต่อการลงทุน, การบริการข้อมูลฟ้าผ่าย้อนหลังในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์หาสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและวางแผนปรับปรุงบำรุงรักษาระบบป้องกันฟ้าผ่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ