Tank Farm

สำหรับคลังน้ำมัน

Total Solution สำหรับคลังน้ำมัน

คลังน้ำมัน สิ่งปลูกสร้าง หรือถังเก็บสารไวไฟขนาดใหญ่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตั้งระบบป้องกัน เนื่องจากผลของฟ้าผ่า ณ จุดใด ๆ อาจทำให้เกิดประกาย (Spark) จนนำไปสู่การระเบิดของเชื้อเพลิงหรือการเกิดเพลิงไหม้ได้

การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสำหรับคลังน้ำมัน

  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้า ควรติดตั้งให้อยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถพบก๊าซหรือไอจากสารไวไฟที่มีความเข้มข้นในอากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการเกิดประกาย (Spark) ที่จุดปลายแท่งตัวนำล่อฟ้ากรณีเกิดฟ้าผ่า โดยในการติดตั้งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระและการติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง


  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระ เป็นการติดตั้งที่ทางเดินของกระแสฟ้าผ่าไม่สัมผัสกับสิ่งปลูกสร้างที่จะป้องกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ตัวนำล่อฟ้าแบบเสาสูง (Lightning Pole) ติดตั้งโดยเว้นระยะห่างระหว่าง Lightning Pole กับโครงสร้างถังน้ำมันอย่างน้อยเท่ากับระยะแยก s ที่ได้จากการคำนวณตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า IEC 62305-3
  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง ควรพิจารณาให้จุดปลายสุดของเสาตัวนำล่อฟ้าอยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1
  • Self-Standing Lightning Pole ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเสาสูงทั่วไป, น้ำหนักเบา, ขนย้ายสะดวก, ติดตั้งง่าย, มีความแข็งแรง ทนแรงลมได้มากถึง 160 km/hr. (Wind Load Tested)

การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับถังเก็บน้ำมัน

  • การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับถังเก็บน้ำมันหรือถังเก็บสารไวไฟ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้โครงโลหะของถังเก็บน้ำมันเป็นตัวนำลงดินโดยธรรมชาติและการติดตั้งระบบตัวนำลงดินเพิ่มเติม


  • ถังเก็บน้ำมันโลหะที่มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าระหว่างส่วนต่าง ๆ และมีความหนาไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตร (ชนิดเหล็กกล้า) หรือไม่น้อยกว่า 7 มิลลิเมตร (ชนิดอะลูมิเนียม) สามารถใช้เป็นตัวนำลงดินโดยธรรมชาติได้ และ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ Earth Boss เชื่อมเข้ากับถังโลหะโดยตรงเพื่อใช้เป็นจุดต่อสายตัวนำระบบรากสายดิน
  • ถังเก็บน้ำมันโลหะที่มีความหนาไม่เพียงพอหรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเก่าที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ เข้ากับโครงโลหะของถังโดยตรงได้ ต้องมีการติดตั้งระบบตัวนำลงดินเพิ่มเติม โดยแนะนำให้ใช้สายตัวนำลงดินชนิดหุ้มฉนวนพิเศษ KHV Cable ที่สามารถชดเชยระยะแยกเพื่อความปลอดภัยจากฟ้าผ่าได้
  • Earth Boss ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมและผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-1 (Requirements for Connection Components)
  • สายตัวนำลงดินชนิดหุ้มฉนวนพิเศษ KHV Cable ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันแรงดันฟ้าผ่าตามมาตรฐาน IEC 62561-8 (Requirements for Components for Isolated LPS) *** เพิ่มรายละเอียด KHV

การตรวจวัดค่าความต้านทานดินแบบอัตโนมัติด้วย Smart Ground Resistance Monitoring

  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้า ควรติดตั้งให้อยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถพบก๊าซหรือไอจากสารไวไฟที่มีความเข้มข้นในอากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการเกิดประกาย (Spark) ที่จุดปลายแท่งตัวนำล่อฟ้ากรณีเกิดฟ้าผ่า โดยในการติดตั้งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระและการติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง
  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระ เป็นการติดตั้งที่ทางเดินของกระแสฟ้าผ่าไม่สัมผัสกับสิ่งปลูกสร้างที่จะป้องกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ตัวนำล่อฟ้าแบบเสาสูง (Lightning Pole) ติดตั้งโดยเว้นระยะห่างระหว่าง Lightning Pole กับโครงสร้างถังน้ำมันอย่างน้อยเท่ากับระยะแยก s ที่ได้จากการคำนวณตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า IEC 62305-3
  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง ควรพิจารณาให้จุดปลายสุดของเสาตัวนำล่อฟ้าอยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1
  • Self-Standing Lightning Pole ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเสาสูงทั่วไป, น้ำหนักเบา, ขนย้ายสะดวก, ติดตั้งง่าย, มีความแข็งแรง ทนแรงลมได้มากถึง 160 km/hr. (Wind Load Tested)

การป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตด้วยการติดตั้ง

Static Earth Reels Monitor and Remote Interlock Controlled

  • บริเวณที่มีการถ่ายเทน้ำมันภายในสถานประกอบกิจการน้ำมัน ซึ่งรวมถึงสถานีบริการน้ำมัน คลังน้ำมัน และสถานที่ที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมันโดยระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ จะต้องมีมาตรการในการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต เนื่องจากการไหลของของเหลวไวไฟภายในท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถสร้างและสะสมประจุไฟฟ้าสถิตได้ และเมื่อเกิดการดิสชาร์จของประจุไฟฟ้าสถิต อาจทำให้เกิดประกายไฟ (Spark) จนอาจนำไปสู่การระเบิดหรือเกิดเพลิงไหม้ได้


  • การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต สามารถทำได้ด้วยการติดตั้ง Static Earth Reels Monitor and Remote Interlock Controlled เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เพื่อคายประจุไฟฟ้าสถิตลงดิน มีคุณสมบัติเป็นอุปกรณ์ชนิดกันระเบิด (Explosion Proof Enclosure) มีไฟแสดงสถานะการทำงานเมื่อการเชื่อมต่อมีความปลอดภัยหรือเมื่อการเชื่อมต่อกับระบบกราวด์ล้มเหลว และมี Contact Voltage Free (NO-NC-C) สำหรับเชื่อมต่อแบบ Interlock กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เชื่อมต่อกับวาล์วที่ใช้ควบคุมการจ่ายน้ำมัน เพื่อป้องกันอันตรายขณะจ่ายน้ำมัน กรณีที่รถขนถ่ายน้ำมันไม่ได้ทำการต่อลงดินหรือกรณีที่หน้าสัมผัสบริเวณปากคีบ (Ground Clamp) กับรถขนถ่ายน้ำมันมีการเชื่อมต่อที่ไม่ดี เป็นต้น
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ